เมื่อในโลกนี้มีหลายอย่างที่เราไม่รู้ ความลับของธรรมชาตินั้นมีมากมาย อะไรเป็นเครื่องพิสูจน์ความจริงเหล่านั้น สามเหลี่ยมเบอร์มิวดา ซึ่งเป็นหนึ่งในสิ่งลี้ลับที่ยังคงมีการพิสูจน์หาความจริง วันนี้เราจะนำเรื่องราวมาบอกเล่าที่อาจจะทำให้กระตุกต่อมเอ๊ะของใครหลายๆคน
สามเหลี่ยมเบอร์มิวดาเป็นอาราเขตส่วนหนึ่งในมหาสมุทรแอตแลนติกซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของรัฐฟอลิดาผ่านบาฮามัสและเปอร์โตริโกมุ่งตรงไปทางตะวันออกจากนั้นก็ย้อนเฉียงกลับไปสู่ทางใต้ตอนเหนือของเบอร์มิวดาอีกซึ่งทำให้อาณาบริเวณแห่งนี้ กลายเป็นรูปสามเหลี่ยม ที่เป็นแหล่งกำเนิด ปรากฏการณ์ อันลี้ลับ มหัศจรรย์ขึ้น เริ่มตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่สอง ในปี ค.ศ. 1945 มาจนถึงปัจจุบัน เครื่องบินจำนวนกว่า 100 เครื่อง และเรือเดินสมุทร จำนวนอีกมากหลายได้ หายไปในบรรยากาศ และพื้นทะเลของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาแห่งนี้พร้อมกับชีวิตมนุษย์นับพันตอลดเวลา 20 ปีที่ผ่านมาอย่างไร้ร่องรอย ซึ่งเครื่องบินที่หายไปเหนือพื้นทะเลแห่งนี้ ส่วนมากก่อนที่จะหายการติดต่อกับฐานปฏิบัติการณ์ หรือสถานีปลายทางเป็นไปอย่างปกติ และสภาพของบรรยากาศ และทัศนะวิสัย ก็สงบ และแจ่มใสดี ไม่มีวี่แววของพายุร้ายใดๆ แต่แล้วเครื่องบินเหล่านั้นก็จะหายไปอย่างฉับพลันโดยไม่มีร่องรอย ซึ่งนักบินก็ไม่มีโอกาสที่จะแจ้งข่าว-ทาง วิทยุให้หน่วยควบคุม การบินทราบได้ แต่ก็มีเป็นจำนวนมากเหมือนกัน ก่อนที่เครื่องบินจะหายสาบสูญ นักบินมีเวลาพอที่จะแจ้งข่าวผิดปกติมายังฐานปฏิบัติการได้ ซึ่งทุกรายต่างก็แจ้งตรงกันทั้งหมดว่า ไม่สามารถควบคุมกลไกต่างๆ ให้ดำเนินไปตามปกติได้ เข็มทิศประจำเครื่องจะหมุนปั่นไม่สามารถบอกทิศทางได้ ท้องฟ้าจะกลายเป็นสีเหลือง และมองดูคล้ายหมอกหนาทึบ ทั้งๆ ที่เป็นวันที่บรรยากาศแจ่มใส และแดดส่องจ้ามาก่อน และท้องทะเลซึ่งเงียบสงบ กลับปั่นป่วน ขึ้นมาโดยไม่อาจจะทราบสาเหตุได้
จากเหตุการณเหล่านี้ทำให้มีผู้สนใจในเรื่องความลับของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดา และได้ตั้งข้อสันนิษฐานไว้มากมาย เช่น การที่เครื่องบินจะตกหรทอเรืออับปรางนั้นเป็นเรื่องปกติ เพียงแต่เส้นทางสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาเป็นเส้นทางคมนาคมอย่างชุกชุม จึงทำให้สถิติมีมากกว่าจุดอื่นๆ รวมทั้งการผันแปรของอากาศอย่างฉับพลัน ที่เรียกกันว่า ‘แค๊ท’ การแปรผันของสนามแม่เหล็กหรือแม้กระทั่งการมาเยือนของมนุษย์ต่างดาว
แต่ไม่ว่าจะสาเหตุใดก็ตามการค้นหาคำตอบของอะไรคงไม่ยากไปกว่าการค้นหาคำตอบจากธรรมชาติซึ่งเป็นสิ่งที่ถือกำเนิดมาก่อนมนุษยชาติ ดังนั้นหากใครรู้สึกเอ๊ะ!อยากรู้คำตอบก็คงต้องเริ่มต้นเก็บเงิน เตรียมกาย เตรียมใจ เพื่อไปพิสูจน์ความจริงของสามเหลี่ยมเบอร์มิวดาแห่งนี้ด้วยตัวเอง ตามสุภาษิตที่ว่าสิบปากว่าไม่เท่าตาเห็นกันแล้วล่ะค่ะ
.....................................................................................................................................................................
ประเทศอียิปต์เป็นประเทศทีมีประวัติศาสตร์ยาวนาน ถึง 5,000 กว่าปี
ในเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 1882 อังกฤษส่งเรือรบไปยังเมืองท่าอเล็กซานเดรีย และยึดครองอียิปต์ได้สำเร็จ ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 อังกฤษได้ประกาศว่าอียิปต์เป็นรัฐในอารักขาของอังกฤษ แต่หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 1 ชาวอียิปต์ที่รักชาติได้เคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องเอกราช ใน ค.ศ. 1922 อังกฤษได้ให้เอกราชแก่อียิปต์ โดยเมื่อแรกรับเอกราช อียิปต์ได้ปกครองโดยราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี ที่สืบเชื้อสายจากสุลต่านแห่งอียิปต์ โดยสุลต่านฟูอัด ได้สถาปนาพระองค์เป็น พระเจ้าฟูอัดที่ 1 แห่งอียิปต์ และปกครองต่อมาอีกสองพระองค์คือ พระเจ้าฟารุกที่ 1 แห่งอียิปต์ และพระเจ้าฟูอัดที่ 2 แห่งอียิปต์ ก็เป็นอันสิ้นสุดราชวงศ์มูฮัมหมัดอาลี และระบอบกษัตริย์แห่งอียิปต์ โดยได้มีการทำรัฐประหารเป็นระบอบสาธารณรัฐจนถึงปัจจุบัน
การเมือง
อียิปต์ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐ โดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข การเลือกตั้งประธานาธิบดีกระทำโดยการลงประชามติ และจะต้องได้รับเสียงสนับสนุนอย่างน้อย 2 ใน 3 ของจำนวนสมาชิกสภาประชาชน มีวาระการดำรงตำแหน่ง 6 ปี ปัจจุบันนาย เป็นประธานาธิบดี ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี 4 โดยเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2542 สมัชชาประชาชน ของอียิปต์ ซึ่งมีสมาชิกทั้งหมด 454 คน ได้ลงคะแนนเสียง (445 เสียง) สนับสนุนให้ประธานาธิบดี Hosni Mubarak ดำรงตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2524 ให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีต่อไปอีกเป็นสมัยที่ 4 (ดำรงตำแหน่งคราวละ 6 ปี) โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 5 ตุลาคม 2542 ภายหลังที่ได้รับเลือกตั้ง ประธานาธิบดีเป็นผู้แต่งตั้งนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรีคนปัจจุบัน คือ นาย Ahmad Nazif ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี ค.ศ. 2004 อียิปต์มีพรรคการเมือง 13 พรรคที่สำคัญ ได้แก่ National Democratic Party (NDP) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาลมีประธานาธิบดีมูบารัคเป็นประธานพรรค Labour Party, New Wafq Party, Liberal Party (Ahrar), Tabammu (Progressive Unionist Party) และ Democratic Nasserite Party พรรค NDP ของรัฐบาล จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2521 ในสมัยประธานาธิบดีซาดัต และได้รับเลือกตั้งเข้าบริหารประเทศตลอดมา จนกระทั่งต้องพ้นจากตำแหน่งในวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 เนื่องจากเกิดเหตุการณ์การปฏิวัติอียิปต์ พ.ศ. 2554
รัฐสภาอียิปต์มี 2 สภา คือ - สภาประชาชน (People’s Assembly) มีสมาชิก 454 คน มาจากการเลือกตั้ง 444 คน และประธานาธิบดีแต่งตั้ง 10 คน มีวาระ 5 ปี ประธานรัฐสภา คือ Dr. Ahmed Fathi Sorour - สภาที่ปรึกษา (Shura Council) มีสมาชิก 285 คน ประธานาธิบดีจะเป็นผู้แต่งตั้งจากบุคคลสาขาอาชีพต่าง ๆ จำนวน 2 ใน 3 (190 คน) อีก 95 คน ประชาชนเป็นผู้เลือก มีวาระ 3 ปี
ภูมิศาสตร์
ที่ตั้ง อียิปต์ตั้งอยู่บนมุมสุดทางตะวันออกเฉียงเหนือของทวีปแอฟริกา และบริเวณเหนือข้ามคลองสุเอซไปในคาบสมุทรไซนาย
ภาคเหนือมีอาณาเขตติดทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ติดอิสราเอล
ภาคตะวันออก ติดทะเลแดง
ภาคใต้ ติดซูดาน
และติดลิเบียทางภาคตะวันตก
อียิปต์เป็นประเทศที่มีแผ่นดินเชื่อมต่อระหว่างทวีปแอฟริกากับเอเชีย ผ่านตะวันออกกลาง ซึ่งจะเป็นจุดเชื่อมต่อที่มีความสำคัญมาแต่โบราณ หลังจากได้มีการขุดและเปิดใช้คลองสุเอซ เมื่อปี พ.ศ. 2412 (ค.ศ. 1869) เส้นทางผ่านคลองสุเอซของอียิปต์ได้กลายเป็นเส้นทางเดินเรือที่สำคัญแห่งหนึ่งของโลก
เศรษฐกิจ
รัฐบาลอียิปต์ปัจจุบันต้องเผชิญภาระที่หนักหน่วงในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งมีหนี้สินอยู่ประมาณ 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ อียิปต์ประสบปัญหาด้านระบบราชการและรัฐวิสาหกิจซึ่งมีขนาด ใหญ่และเป็นอุปสรรคในการพัฒนาเศรษฐกิจ อัตราการเพิ่มของประชากรค่อนข้างสูง รัฐบาลอียิปต์ได้ใช้ความพยายามที่จะปฏิรูปเศรษฐกิจ ให้มีการค้าเสรี การแปรรูปกิจการของรัฐไปสู่ภาคเอกชน ส่งเสริมการลงทุน กระตุ้นรัฐวิสาหกิจให้เพิ่มผลผลิต ผลเลิกการควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ อียิปต์ได้ขอความช่วยเหลือจากสถาบันการเงินระหว่างประเทศ อาทิ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ ธนาคารโลก Paris Club รวมทั้งจากประเทศกลุ่มอาหรับอียิปต์ได้ทำการปฏิรูปทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2533 โดยใช้นโยบายเศรษฐกิจการตลาดให้มีการค้าเสรี การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ยกเลิกควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศสะดวกขึ้น
ผลจากการปฏิรูปดังกล่าวทำให้เศรษฐกิจของอียิปต์กระเตื้องดีขึ้นสามารถ แก้ไขปัญหาการขาดดุลงบประมาณลดลงมาก ลดปัญหาเงินเฟ้อลงได้ในระดับหนึ่งรายได้หลักของอียิปต์จากน้ำมันซึ่งผลิตได้วันละ 950,000 บาร์เรลและส่งออกขายครึ่งหนึ่ง ในแต่ละปีมีรายได้ประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากการท่องเที่ยว ประมาณปีละ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐจากค่าผ่านคลองสุเอซปีละประมาณ 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ จากแรงงานอียิปต์ในต่างประเทศ ประมาณ 5 ล้านคน ส่วนใหญ่ทำงานในตะวันออกกลางในซาอุดีอาระเบียประมาณ 1 ล้านคน ในลิเบียประมาณ 1.5 ล้านคน ส่งเงินเข้าอียิปต์ประมาณปีละ 4 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ภายหลังการก่อวินาศกรรมในสหรัฐ ฯ เมื่อวันที่ 11 กันยายน พ.ศ. 2544 ทำให้อียิปต์ต้องสูญเสียรายได้ ประมาณ 1.5 – 2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ รัฐบาลอียิปต์ คาดว่า รายได้จากการท่องเที่ยวจะลดลงประมาณ ร้อยละ 20 และการส่งออก ร้อยละ 10 )
ประชากร
มีจำนวนประมาณ 70 ล้านคน (ปี 2547) อยู่ในเขตเมืองร้อยละ 45 ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ตามบริเวณ 2 ฝั่งและที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ คือ แฮมิติก-แซมิติก 99.8% เบดูอิน และนูเบียน 0.2% อัตราเพิ่มของประชากร ประมาณปีละ 1.9 % อายุเฉลี่ย 65 ปี
ความหนาแน่นประชากรโดยเฉลี่ยทั่วประเทศ ประมาณ 75.68 คน/ตร.กม. กรุงไคโรและ ปริมณฑล มีประชากรประมาณ 16 ล้านคน จะมีความหนาแน่นมากที่สุดเฉลี่ย 34,000-35,000 คน/ตร.กม. รองลงมาคือ เมืองอเล็กซานเดรีย มีประชากรประมาณ 4 ล้านคน ความหนาแน่นเฉลี่ย 13,000-15,000 คน/ตร.กม. และเมือง ปอร์ต ซาอิด มีประชากร 526,000 คน ความหนาแน่นเฉลี่ย 8,800-9,000 คน/ตร.กม.
ศาสนา
ในอดีตชาวอียิปต์นับถือเทพเจ้าและมีกษัตริย์ที่เรียกว่า ฟาโรห์ และในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราชแห่งอินเดีย พระเจ้าอโศกได้ทูตมาเจริญสัมพันธไมตรีกับอียิปต์และได้เผยแพร่พระพุทธศาสนาในเขตเมืองอเล็กซานเดรีย (ดูเพิ่มได้ใน พุทธศาสนาในประเทศอียิปต์) แต่ในปัจจุบันประชากรส่วนใหญ่ 94% นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุหนี่ อีก 6% นับถือศาสนาคริสต์ นิกายคอปติก
ด้านการต่างประเทศ
ช่วงปี พ.ศ. 2498 (ค.ศ. 1955) สมัยประธานาธิบดีนัสเซอร์ อียิปต์เน้นความเป็นปึกแผ่นในกลุ่มประเทศอาหรับ และพยายามเข้าไปมีบทบาทสำคัญในขบวนการไม่ฝักใฝ่ฝ่ายใด ซึ่งในช่วงนี้ อียิปต์มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสหภาพโซเวียต ได้รับความช่วยเหลือทั้งทางด้านเศรษฐกิจและการทหารจากสหภาพโซเวียต และเข้ายึดคลองสุเอซเป็นของรัฐ เมื่อปี พ.ศ. 2499 (ค.ศ. 1956) เพื่อหารายได้จากการเก็บค่าธรรมเนียมจากคลองสุเอซเป็นทุนสร้างเขื่อนอัสวาน
ปี พ.ศ. 2510 (ค.ศ. 1967) อียิปต์ส่งทหารไปยึดเมือง Sharm El-Shekh บริเวณตอนใต้ของแหลมไซนาย หลังจากได้เจรจาให้กองทหารนานาชาติถอนออกไปจากไซนายแล้ว พร้อมกับได้ทำการปิดช่องแคบ Tiran เพื่อมิให้อิสราเอลเดินเรือผ่าน การปฏิบัติการเช่นนี้ส่งผลให้เกิดสงครามหกวัน (Six – day War) กับอิสราเอล ฝ่ายอิสราเอลได้รับชัยชนะ อียิปต์และ พันธมิตรอาหรับได้สูญเสียดินแดน ได้แก่ ฉนวนกาซาและแหลมไซนายให้แก่อิสราเอล นับตั้งแต่ประธานาธิบดีซาดัตเข้าดำรงตำแหน่งในปี พ.ศ. 2513 (ค.ศ. 1970) ความสัมพันธ์บางประเทศในอาหรับ อาทิ ลิเบีย และซีเรีย เย็นชาลง อียิปต์หันไปพึ่งพาสหรัฐอเมริกา ให้ช่วยไกล่เกลี่ยในการเจรจาสันติภาพกับอิสราเอล
เมื่อเกิดสงคราม 18 วันจากกรณีอียิปต์ส่งทหารข้ามคลองสุเอซไปยึดครองดินแดนที่สูญเสียคืนการสู้รบได้ยุติลงโดยสหรัฐฯ เป็นผู้ไกล่เกลี่ย โดยได้ตกลงให้มีเขตปลอดทหารระหว่างเขตแดนของอียิปต์และอิสราเอล ภายใต้การควบคุมของกองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติซึ่งยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน อียิปต์หันไปพึ่งพาสหรัฐฯ มากขึ้น ยังผลให้ความสัมพันธ์ระหว่างอียิปต์กับสหภาพโซเวียตถดถอยลง ในปี พ.ศ. 2519 (ค.ศ. 1976) อียิปต์ได้ยกเลิกสนธิสัญญามิตรภาพกับสหภาพโซเวียต และให้ที่ปรึกษาด้านการทหารของโซเวียตออกจากประเทศ ในขณะเดียวกันสหรัฐฯ ได้ให้ความช่วยเหลือแก่อียิปต์เพิ่มมากขึ้นจนถึงปัจจุบันปีละประมาณ 2.2 พันล้านเหรียญสหรัฐ
ประธานาธิบดีซาดัตได้เดินทางไปเยือนอิสราเอล เมื่อปี พ.ศ. 2520 (ค.ศ. 1977) เพื่อเจรจาสันติภาพ และอียิปต์ได้มีการลงนามในข้อตกลงสันติภาพที่แคมป์เดวิดเมื่อปี พ.ศ. 2522 (ค.ศ. 1979) มีผลให้อียิปต์สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอล อิสราเอลยินยอมคืนดินแดนไซนายทั้งหมด (ยกเว้นทาบา) ให้แก่อียิปต์เมื่อปี พ.ศ. 2525 (ค.ศ. 1982) แต่ผลจากการลงนามดังกล่าวทำให้ประเทศอาหรับส่วนใหญ่ตัดความสัมพันธ์กับอียิปต์ และอียิปต์ถูกขับออกจากสันนิบาตอาหรับเมื่อประธานาธิบดีมูบารัคเข้าบริหารประเทศ
ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 (ค.ศ. 1981) ได้พยายามดำเนินนโยบายที่จะนำอียิปต์กลับสู่เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันกับกลุ่มประเทศอาหรับ ด้วยการดำเนินการในด้านต่าง ๆ อาทิ สนับสนุนขบวนการปาเลสไตน์ สนับสนุนอิรักในสงครามระหว่างอิรักกับอิหร่าน สนับสนุนคูเวตในกรณีอิรักเข้ายึดครองคูเวต หลังจากนั้น ประเทศอาหรับต่าง ๆ ได้ปรับความสัมพันธ์ทางการทูตตามปกติกับอียิปต์ ในขณะเดียวกัน อียิปต์ได้รับการสนับสนุนอย่างแข็งขันจากสหรัฐฯ และชาติตะวันตกในการแสวงหาลู่ทางแก้ไขปัญหาตะวันออกกลาง ประธานาธิบดีมูบารัค ดำเนินบทบาทสำคัญในการประสานระหว่างกลุ่มอาหรับและ เป็นตัวเชื่อมในการเจรจากับอิสราเอลในปัญหาตะวันออกกลาง และพยายามแสดงบทบาทนำในกลุ่มประเทศอาหรับและแอฟริกา
ด้านการค้าระหว่างไทยกับอียิปต์
มูลค่าการค้าไทย – อียิปต์อยู่ในระดับปานกลาง ในปี 2544 มูลค่าการค้ารวม 151.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าสินค้าออก 103.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 7.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยได้เปรียบดุลการค้า 96.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับปี พ.ศ. 2545 ตั้งแต่เดือน มกราคม – กันยายน มูลค่าการค้าไทย-อียิปต์รวม 96.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ มูลค่าสินค้าออก 88.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ นำเข้า 8.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ-ไทยได้เปรียบดุลการค้า 80.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สินค้าที่ไทยส่งออกไปอียิปต์ ที่สำคัญได้แก่ ได้แก่ อาหารทะเลกระป๋อง เสื้อผ้าสำเร็จรูป ใบยาสูบ ตู้เย็น ตู้แช่แข็งและส่วนประกอบ (สำหรับเสื้อผ้าสำเร็จรูป อียิปต์ระบุให้เป็นสินค้าห้ามเข้า แต่ก็มีการลักลอบนำเข้า โดยจะทำในลักษณะการค้านอก รูปแบบ)
สินค้าที่ไทยนำเข้าจากอียิปต์ ได้แก่ เส้นใยใช้ในการทอ น้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันเบรก หนังดิบและหนังฟอก เครื่องตกแต่งบ้านเรือน ดินสอ ปากกา หมึกพิมพ์ และอุปกรณ์เกี่ยวกับการพิมพ์ สบู่ ผงซักฟอก และเครื่องสำอาง แก้วและผลิตภัณฑ์เครื่องปั้นดินเผา
ในปัจจุบันอียิปต์มีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้น มีการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดีขึ้น และมีการลงทุนจากนักลงทุนต่างชาติเพิ่มขึ้น โดยเข้าไปประกอบอุตสาหกรรมและลงทุนสาขาต่าง ๆ รวมทั้งอุตสาหกรรมประเภทที่ไทยผลิตและส่งออกด้วย ซึ่งอาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทยไปยังอียิปต์ในอนาคต อย่างไรก็ตาม ในปัจจุบันอียิปต์ได้เข้าไปร่วมเป็นสมาชิกตลาดร่วมแอฟริกาตะวันออกและใต้ (Common Market of Eastern and Southern Africa – COMESA) ในปี พ.ศ. 2541 (ค.ศ. 1998) โดยมีจุดมุ่งหมายขยายตลาดสินค้าอียิปต์เข้าไปยังประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา ฝ่ายไทยจึงอาจพิจารณาสนับสนุนให้นักลงทุนไปลงทุน/ร่วมลงทุนในอียิปต์เพื่อการ ส่งออกไปยังตลาดร่วมแอฟริกาในอนาคต หรือมุ่งใช้อียิปต์เป็นประตูสู่ประเทศต่าง ๆ ในแอฟริกา เมื่อเดือน มิ.ย. 44 อียิปต์ได้ลงนามร่วมกับสหภาพยุโรป (อียู) ในความตกลง Euro-Mediterranean Association Agreement ซึ่งจะมีผลตต่อความสัมพันธ์กับอียูในด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ การเงิน ลังคม วัฒนธรรมและการกงสุล
....................................................................................................................................................................................................
....................................................................................................................................................................................................
ชีวประวัติคนโดนใจ !^^'
นายปรีดี พนมยงค์
ศาสตราจารย์ ดร. ปรีดี พนมยงค์ หรือ หลวงประดิษฐ์มนูธรรม เป็นผู้นำคณะราษฎรสายพลเรือน ผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองของสยามจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของประเทศไทย 3 สมัยและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่าง ๆ อีกหลายสมัย เป็นผู้ก่อตั้งและผู้ประศาสน์การเพียงคนเดียวของมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง และเป็นผู้ก่อตั้งธนาคารชาติไทย (ปัจจุบัน คือ ธนาคารแห่งประเทศไทย ในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ปรีดีเป็นผู้นำขบวนการเสรีไทยต่อต้านกองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่น ทำให้ประเทศไทยรอดพ้นจากการเป็นผู้แพ้สงคราม นอกจากนี้ท่านยังได้รับแต่งตั้งเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในรัชกาลที่ 8 และได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ยกย่องในฐานะ "รัฐบุรุษอาวุโส ซึ่งถือว่าเป็นตำแหน่งทางการเมืองสูงสุดของไทย และปรีดีต้องยุติบทบาททางการเมืองหลังเหตุการณ์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลสวรรคต โดยถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ดังกล่าว ต่อมาเกิดการรัฐประหาร พ.ศ. 2490 เป็นเหตุให้ท่านต้องลี้ภัยการเมืองไปยังประเทศจีนและฝรั่งเศสรวมระยะเวลากว่า 30 ปี ระหว่างที่ลี้ภัยอยู่ต่างประเทศ ปรีดีได้ดำเนินการฟ้องร้องผู้ใส่ความหมิ่นประมาทต่อศาลยุติธรรม ผลปรากฏว่าศาลตัดสินให้ชนะทุกคดี และยังได้รับความรับรองจากทางราชการตลอดจนเงินบำนาญและหนังสือเดินทางของไทย แต่ก็ไม่ได้กลับสู่ประเทศไทยอีกเลยจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมใน พ.ศ. 2526 ในปี พ.ศ. 2542 ที่ประชุมสมัยสามัญครั้งที่ 30 ขององค์การยูเนสโก ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส ได้มีมติประกาศให้ ปรีดี พนมยงค์ เป็น "บุคคลสำคัญของโลก" และได้ร่วมเฉลิมฉลองในวาระครบรอบ 100 ปี ชาตกาลของท่าน ระหว่าง พ.ศ. 2543 - พ.ศ. 2544 นอกจากนี้นิตยสารเอเชียวีคยังได้เสนอชื่อของท่านเข้าชิงตำแหน่ง "Asian Of The Century" อีกด้วย
นายปรีดี พนมยงค์ จึงถือเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างของคนไทยผู้มีความสำคัญในศตวรรษนี้ ซึ่งท่านเป็นผู้ที่อุทิศตนเพื่อรับใช้ชาติด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีผลงานมากมายเป็นที่ปรากฏ และมีคุณธรรม อันประเสริฐเป็นแนวทางแห่งชาติ เช่นเดียวกับ บุคคลสำคัญ อื่น ๆ ในประวัติศาสตร์ แต่ฉันคิดว่าชื่อของนายปรีดี จะยังคงเป็นประวัติศาสตร์ต่อไปแม้หลังท่านได้สิ้นชีวิตจากโลกนี้ไปแล้ว ฉันจึงหวังว่าท่านจะเป็นแรงบันดาลใจให้กับคนหนุ่มสาวชาวไทยจำนวนไม่น้อยให้หันกลับมาดูแลชาติ บ้านเมืองของเรายิ่งขึ้นค่ะ ^^/